วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

มาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ



คณะเทคโนโลยีการจัดการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมวด 1 ข้อมูลทั่วไป

1.  รหัสและชื่อรายวิชา                                      05-052-403 วิจัยธุรกิจ   (Business Research)

2.  จำนวนหน่วยกิต                                           3 หน่วยกิต (3-0-6)

3. หลักสูตร และประเภทของรายวิชา
                3.1 หลักสูตร                                                      หลากหลายหลักสูตร
                3.2 ประเภทของรายวิชา                                  วิชาชีพ

4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
                4.1 ผู้รับผิดชอบรายวิชา                     ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย  พาบุ
                4.2 อาจารยร์ผู้สอน                             1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย  พาบุ
                                                                                2) ดร.นภาพร  จันทะรัง

5. ภาคการศึกษา/ชั้นปีที่เรียน                           ภาคเรียนใดก็ได้ / จัดให้เรียนในชั้นปีที่  3 หรือ ปีที่ 4
 
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisites) (ถ้ามี)   วิชาบังคับก่อน 02-070-204 สถิติ1 หรือ 05-020-102  
     สถิติธุรกิจ
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน (Co- requisites) (ถ้ามี)           ไม่มี

8. สถานที่เรียน    คณะเทคโนโลยีการจัดการ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด 1 พฤษภาคม 2556

 หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายรายวิชา
               1.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญและขอบเขตของการวิจัยทางธุรกิจ
               2.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความความรู้ความเข้าใจในหลักและวิธีการวิจัยทางธุรกิจ
               3.  เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถวางแผนการวิจัยธุรกิจได้
               4.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายของข้อมูลทางธุรกิจได้
5.  เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความรู้ความสามารถในการเขียนรายงานและนำเสนอผลการวิจัยธุรกิจได้
6.  เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักและเข้าใจกระบวนการวิจัยธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆทางธุรกิจ ได้
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา / ปรับปรุงรายวิชา
                1.  เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
                2.  เพื่อปรับปรุงรายวิชาให้ได้เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ

หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1.  คำอธิบายรายวิชา
                ศึกษาระเบียบการปฏิบัติงานวิจัย ความสำคัญ ขั้นตอนการเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูล การเขียนเค้าโครงงานวิจัย การเขียนรายงานวิจัย และจรรยาบรรณของนักวิจัยเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจ

2.  จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
                บรรยาย  3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษา
                สอนเสริม             ไม่มี
                การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน       ฝึกปฏิบัติการวิจัยนอกเวลา  1 เรื่อง
                การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง              6  ชั่วโมงต่อสัปดาห์

3.  จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
                นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอรับคำแนะนำ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ได้ทุกวันตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์

 หมวดที่ 4 การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
1.  คุณธรรม จริยธรรม
                1.1   คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
                         1.1.1 มีวินัยตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
                         1.1.2 มีคุณธรรมของความเป็นผู้นำและผู้ตาม
                         1.1.3 เคารพสิทธิ์และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมถึงเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

                1.2  วิธีการสอน
                         1.2.1 บรรยายเนื้อหาสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
                         1.2.2 อภิปรายซักถามโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมและการแลกเปลี่ยนเรีนรู้ในชั้นเรียน
1.3  วิธีการประเมินผล
                         1.3.1 ประเมินจากการเข้าชั้นเรียน และพฤติกรรมในชั้นเรียน
                         1.3.2 ประเมินจากการตรงต่อเวลาในการส่งงานและประสิทธิผลของงาน
                         1.3.3 ประเมินจากการอภิปรายการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
                         1.3.4 ประเมินจากผลงานมอบหมาย
                         1.3.5 ประเมินจากผลการสอบภาคทฤษฎี

2.  ความรู้
                2.1  ความรู้ที่ต้องได้รับ
                         2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
                         2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องได้
                2.2  วิธีการสอน
                         2.2.1 บรรยายและซักถามอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วม
                         2.2.2 กำหนดประเด็นปัญหา
                         2.2.3 อภิปรายกลุ่ม
                         2.2.4 ทำแบบฝึกหัดท้ายหน่วยเรียน
                         2.2.5 มอบหมายงานเป็นกลุ่มให้ค้นคว้าเพิ่มเติมและนำเสนอในชั้นเรียน
                2.3  วิธีการประเมินผล
                         2.3.1 ประเมินจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
                         2.3.2 ประเมินจาก แบบทดสอบ
                         2.3.3 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม
3.  ทักษะทางปัญญา
                3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
                         3.1.1 มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
                         3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
                3.2 วิธีการสอน
                         3.2.1 ให้วิเคราะห์กรณีศึกษา
                         3.2.2 มอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติการวิจัย
                         2.2.6 นำเสนอผลการวิจัยตามกระบวนการอภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการวิจัยธุรกิจ
                3.3 วิธีการประเมินผล
                         3.3.1 พิจารณาจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
                         3.3.2 ประเมินจากกระบวนการทำงานวิจัยเป็นกลุ่ม
                         3.3.4 ประเมินจากผลงานวิจัยธุรกิจและการนำเสนอ

4.  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
                4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
                         4.1.1 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                         4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งตนเองและสังคม
                         4.1.3 มีความรับผิดชอบในการทำงานที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม
                4.2 วิธีการสอน
                         4.2.1 กำหนดประเด็นปัญหา
                         4.2.2 อภิปรายผลระดมความคิด
                4.3 วิธีการประเมินผล
                         4.3.1 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม
                         4.3.2 พิจารณาจากผลงาน

5.  ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
                5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
                         5.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูลและค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้
                         5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
                5.2 วิธีการสอน
                         5.2.1 บรรยายและอภิปรายกลุ่มโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
                         5.2.2 นำเสนอผลงานในชั้นเรียนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
                         5.2.3 เรียนรู้จากการปฏิบัติการวิจัยนอกเวลา โดยใช้กระบวนการกลุ่ม
                         5.2.4 มอบหมายให้ค้นคว้าเพิ่มเติม
                5.3 วิธีการประเมินผล
                         5.3.1 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน การอภิปรายกลุ่ม
                         5.3.2 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมและการแสดงออกในการอภิปรายกลุ่มการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล

1.              แผนการสอน

สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน
และสื่อที่ใช้
ผู้สอน
1
1. แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
    1.1 ความหมายของการวิจัย
    1.2 ความสำคัญของการวิจัยธุรกิจ
    1.3 การค้นหาความรู้ความจริง
    1.4 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
3
บรรยาย/อภิปราย
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
2
2. การวิจัยธุรกิจ
2.1 ลักษณะของการวิจัยธุรกิจ
  2.2 ประเภทของการวิจัยธุรกิจ
  2.3 ขอบเขตของการวิจัยธุรกิจ
  2.4 จรรยาบรรณการวิจัยทางธุรกิจ

บรรยาย/อภิปราย
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
 ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
3
3. สารสนเทศและการตัดสินใจทางธุรกิจ
    3.1 สารสนเทศทางธุรกิจ
    3.2 ความหมายและลักษณะของการ
         ตัดสินใจ
  3.3 กระบวนการตัดสินใจ
  3.4 รูปแบบของการตัดสินใจ
3
แบ่งกลุ่มค้นคว้า
นำเสนอ/อภิปราย
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
4
4. การกำหนดปัญหาในการวิจัยธุรกิจ
   4.1 แหล่งที่มาของปัญหาในการวิจัยธุรกิจ
    4.2 การเลือกปัญหาในการวิจัยธุรกิจ
    4.3 การกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัย
          ธุรกิจ
    4.4 กระบวนการวิจัยธุรกิจ
3
บรรยาย/สาธิต/ซักถาม
สื่อนำเสนอ Power point
ฐานข้อมูลอีเล็กทรอนิกส์
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
5
5. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
    5.1 จุดมุ่งหมายของการทบทวน
          วรรณกรรม
    5.2 กระบวนการทบทวนวรรณกรรม
    5.3 แหล่งสารสนเทศทางการวิจัย
    5.4 การรวบรวมวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
3
บรรยาย/สาธิต/ซักถามแบ่งกลุ่มทบทวนวรรณกรรม
สื่อนำเสนอ Power point
กรณีตัวอย่าง
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
6
5. ตัวแปรและสมมติฐานในการวิจัย
    6.1 ตัวแปรในการวิจัย
     6.2 การวัดตัวแปร
     6.3 สมมติฐานการวิจัย
     6.4 ทฤษฎีและกรอบแนวคิดการวิจัย
3
บรรยาย/อภิปราย
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
7
7. การออกแบบวิจัย
   7.1 คุณลักษณะของการออกแบบการวิจัย
          ที่ดี
    7.2 ขั้นตอนการออกแบบวิจัย
   7.3 แบบสำคัญของการวิจัย
    7.4 ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความถูกต้อง
          ภายใน
3
บรรยาย
แบ่งกลุ่มออกแบบวิจัย
นำเสนอ/อภิปราย
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
8

8. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

   8.1 ประชากรในการวิจัย
   8.2 ขั้นตอนการเลือกตัวอย่าง
   8.3 การกำหนดขนาดตัวอย่าง
   8.4 วิธีการเลือกตัวอย่าง
3
บรรยาย/อภิปราย
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
9

สอบกลางภาค




10

10. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย     10.1 คุณสมบัติที่ดีของเครื่องมือที่ใช้ใน

            การวิจัย
10.2   การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
10.2.1 แบบสอบถามQuestionnaire)
    10.2.2. แบบสัมภาษณ์ (Interview form)
    10.2.3 แบบสังเกต (Observation form)
    10.2.4 แบบทดสอบ(Test)
3
บรรยาย/ซักถาม
แบ่งกลุ่มออกแบบเครื่องมือ
นำเสนอ/อภิปราย
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
11

11. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

     11.1 ความหมายและประเภทของการ
            ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย
    11.2 การวิเคราะห์ความตรงของเครื่องมือ
     11.3 การวิเคราะห์ความเที่ยงของเครื่องมือ
3
บรรยาย/อภิปราย
ทำแบบฝึกหัด
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
12

12.  เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล

12.1 หลักสำคัญในการเก็บรวบรวม
        ข้อมูล
12.2 ประเภทของข้อมูลจำแนกตาม
        ลักษณะการจัดเก็บ
12.3 ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล
       12.4 เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล
       12.5 การดำเนินกรรมวิธีทางข้อมูล
3
บรรยาย/อภิปราย
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
13
13. การใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
      13.1 แนวคิดพื้นฐานทางสถิติ
      13.2 ขั้นตอนของการใช้สถิติเพื่อการ
               วิเคราะห์ข้อมูล
      13.3 การทดสอบสมมุติฐานทางสถิติ
      13.4 การทดสอบความมีนัยสำคัญทาง
             สถิติ
     13.5 การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับ
             การวิจัย  
3
บรรยาย/อภิปราย
ทำแบบฝึกหัด
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
14
14. การจัดกระทำกับข้อมูล
       14.1การตรวจสอบข้อมูล
14.2   การสร้างตัวแปรและให้รหัสข้อมูล
14.3   การทำคู่มือลงรหัส
14.4   การตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล
14.5   การเตรียมโครงสร้างข้อมูล
14.6การบันทึกลงสื่อข้อมูล
14.7       การจัดทำตาราง
3
บรรยาย/อภิปราย
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
15
15.  การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม
       สำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์
      15.1 การเข้าใช้โปรแกรม
      15.2 การกำหนดชื่อและค่าตัวแปร
      15.3 การวิเคราะห์หาคุณภาพเครื่องมือ
      15.4 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
              พื้นฐาน
      15.5 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบ
              สมมุติฐาน
3
บรรยาย/สาธิต
ฝึกปฏิบัติ
สื่อนำเสนอ Power Point
เอกสารการสอน

ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
16
16. การเขียนรายงานการวิจัย
      16.1 องค์ประกอบและหลักการใช้ภาษา  
              ในการเขียนรายงานการวิจัย
       16.2 การเขียนรายงานการวิจัย
       16.3 หลักการอ้างอิงเอกสาร
       16.4 การจัดทำตารางกราฟและ
               ภาพประกอบ
3
บรรยาย/อภิปราย
ทำแบบฝึกหัด
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
สื่อนำเสนอ Power point
เอกสารการสอน
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
17
นำเสนอผลการวิจัย
3
นักศึกษานำเสนอผลการวิจัย
ผ.ศ.ดร.ธงชัย พาบุ
18
สอบปลายภาค
3



2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
กิจกรรมการประเมิน
สัดส่วนคะแนน
1. แบบฝึกหัดและกิจกรรมการเรียนรู้
10 %
2. การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
     1) สังเกตพฤติกรรมกลุ่มโดยอาจารย์ ผู้สอน5 %
     2) ประเมินพฤติกรรมในการทำงานกลุ่มโดยนักศึกษา 5 %
10 %
3. งานมอบหมาย
     1) ความรู้ความสามารถในกระบวนการวิจัย 10 %
     2) การนำเสนอ 10 %
     3) รูปเล่มรายงานผลการวิจัย 10 %
30 %
4. การสอบ
     1) สอบย่อย 10 %
     1) สอบกลางภาค20 %
     2) สอบปลายภาค 20 %
50 %
รวม
100 %
หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน

ชัชวาลย์  เรืองประพันธ์.  2543.  สถิติพื้นฐาน: พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MINITAP SPSS             และSAS.  ขอนแก่น:ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เชิดศักดิ์  โฆวาสินธุ์. 2527. การวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:      มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ณรงค์  ศรีสวัสดิ์.  2541. วิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพ: หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทองใบ สุดชารี.  2543. การวิเคราะห์ความเชื่อมันของเครื่องมือวิจัย. อุบลราชธานี:สถาบันราชภัฎ             อุบลราชธานี.
เทียนฉาย  กีรนันทน์.  2544.  สังคมศาสตร์วิจัย.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ: คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์            มหาวิทยาลัย.
ธานินทร์  ศิลป์จารุ.  2548.  การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS.  กรุงเทพฯ: วี. อินเตอ์พริ้นท์.
ธีรยุทธ  พึ่งเทียร.  2543. สถิติเบื้องต้นและการวิจัย.  กรุงเทพฯ: สูตรไพศาล.  
นราศรี  ไววนิชกุล  และ  ชูศักดิ์  อุดมศรี.  2542. ระเบียบวิจัยธุรกิจ.    พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์          มหาวิทยาลัย.
นิรนาม.  2548.  เรียน spss.”  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://webpp5.atspace.com/spss4.html
นิศา  ชูโต.  2545.  การวิจัยเชิงคุณภาพ.  กรุงเทพมหานคร: แม็ทปอยท์,
บุญชม  ศรีสะอาด.  2532.  การวิจัยเบื้องต้น.  มหาสารคาม: ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
----------.  2540. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญธรรม   กิจปรีดาบริสุทธิ์ .   2531.การวิจัยและวัดประเมินผล.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.             
----------.  2542. เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5.กรุงเทพฯ:        มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญธรรม   จิตต์อนันต์.  2540.  การวิจัยทางสังคม.   พิมพ์ครั้งที่ 2,  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 
บุญเรียง  ขจรศิลป์.  2539.  วิธีวิจัยทางการศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.   
เบญจา  ยอดดำเนิน- แอ๊ตติกจ์, บุปผา  ศิริรัศมี และวาทินี บุญชะสักษี.  2533. การศึกษาเชิงคุณภาพ: เทคนิคการวิจัยภาคสนาม.  พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ประกายรัตน์  สุวรรณ.  2548.  คู่มือการใช้โปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 12 สำหรับ Windows. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั้น.
ประนอม  อุตกฤษฏ์.  2537.  การวิจัยด้านอาชีวะและเทคนิค.  กรุงเทพฯ:  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ผ่องพรรณ  ตรัยมงคลกูล.   2544. การวิจัย  ในชั้นเรียน .  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ผ่องพรรณ  ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตราภรณ์.  2543. การออกแบบการวิจัย . พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พวงรัตน์  ทวีรัตน์.  2543.  วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่  8.  กรุงเทพฯ: สำนักนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา.  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. 
พิชิต  ฤทธ์จรูญ.  2544.  การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ : ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน.  กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏพระนคร.
เพ็ญแข  แสงแก้ว.  2541.  การวิจัยทางสังคมศาสตร์.  ปทุมธานี: ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มนสิช  สิทธิสมบูรณ์.  (2547).   ระเบียบวิธีวิจัย.  พิษณุโลก:  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ยุทธพงษ์  ไกรวรรณ์.   2543. พื้นฐานการวิจัย.  กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.
รวีวรรณ  ชินะตระกูล.  2533.  คู่มือการทำวิจัยทางการศึกษา.  กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ศรีอัมพร  ประทุมนันท์.  2544. เริ่มต้นง่าย ๆ กับวิจัยในชั้นเรียน.  กรุงเทพ: มูลนิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์, บรรณาธิการ.  2541.  รวมบทความทางวิธีวิทยาการวิจัย. 2 เล่ม.  กรุงเทพฯ: จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำเริง  จันทรสุวรรณ และ สุวรรณ  บัวทวน.  2544. การวิเคราะห์ข้อมูลโดย SPSS for Windows.  ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิน  พันธุ์พินิจ.  2547.  เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, ลัดดาวัลย์  รอดมณี และไพฑูรย์  ภักดี.  2529. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ: สถาบันบัณทิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุธีระ  ประเสริฐสรรพ.  2544. สนุกกับการวิจัย.  กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
----------.  2544. สรรพสิ่งล้วนวิจัย.  กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
สุรางค์ จันทวานิช.  2543. วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิชาน  มนแพวงศานนท์.  2543. วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ.  พิมพ์ครั้งที่  3.  กรุงเทพฯ:
ซีเอ็คยูเคชั่น.         
สุวิมล  ติรกานันท์.  2548.  ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ: จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อโนทัย  ตรีวาณิช.  2546. การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติขั้นพื้นฐาน.   ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. 
                ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อุทุมพร  (ทองอุไร) จามรมาน.   2530.  การเขียนโครงการวิจัย.  กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงการณ์   มหาวิทยาลัย.
----------.  2537.  การสุ่มตัวอย่างทางการศึกษา เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ: ฟันนี่พับลิชชิ่ง.
----------.  2530. แบบสอบถาม การสร้างและการใช้.  กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย.
Babbie, Earl R.  1986. The Practice of Social Research.  4th ed.  Belmont: Wadsworth.
Brause, Rita S.  2000.  Writing your doctoral dissertation: Invisible rule for success.  New York:         Routledge Falmer.
David, Gordon B. and Clyde A. Parker.  1997.  Writing the Doctoral Dissertation : A Systematic    Approach.  2nded.  New ed.  New York: Barron’s Education Series.
Ebest, Sally Barr, Alred Gerald J., and Oliu, Water E. 2003.  Writing from a to z : the easy -to-use reference handbook. 4th ed.  Boston: McGrawHill.
Keen, Michael L., and Adams, Katherine H.  2002.  Easy access : the reference handbook for writers.            3rd ed.  Boston: McGrawHill.
Madsen, David.  1992.  Successful dissertations and thesis: A guide to graduate Student research   from probosal to Completion.  2nded.  San Francisco: Jossey-bass.
Wimmer, Roger. D., and Dominick, Joseph R.  1987.  Mass Media Research an        Introduction.  2nd             ed.  Belmont: Wadsworth Publishing.

หมวดที่ 7 การประเมินและการปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา

1.  การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
                1.1 อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจเหตุผลในการปรับปรุงรายวิชาที่สอนจากการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ผ่านมา และให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา
                1.2 ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนารายวิชาโดยใช้แบบประเมิน

2.  การประเมินการสอน
                อาจารย์ผู้สอนจัดทำบันทึกการสอน เพื่อการประเมินการสอนของตนเอง และพิจารณาผลการทำงานและการเรียนของนักศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง แก้ไขรายวิชาต่อไป

3.  การปรับปรุงการสอน
                3.1 ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษาจากแบบประเมิน
                3.2 ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาต่อไป

4.  การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
                4.1 แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชา
                4.2 แสดงหลักฐานการให้คะแนนในรายวิชา และคะแนนรายงานของนักศึกษา

5.  การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
                นำข้อเสนอแนะของนักศึกษาตามข้อ 1 มาประมวลเพื่อนำไปปรับปรุงรายวิชาที่สอน

1 ความคิดเห็น: