วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

แนวคิดพื้นฐานการวิจัย



จุดประสงค์การสอน
                1.1   รู้ความหมายของการวิจัยธุรกิจ
                1.2   เห็นความสำคัญของการวิจัยธุรกิจ
1.4   เข้าใจหลักการค้นหาความรู้ความจริงของมนุษย์
                1.5   เข้าใจแนวคิดพื้นฐานการวิจัย
                ความหมายของการวิจัยธุรกิจ
                การวิจัย หมายถึง กระบวนการค้นหา ความรู้ ความจริง และความเข้าใจในสิ่งที่ต้องการศึกษาโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบมีระเบียบแบบแผนและกฎเกณฑ์เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ 
ธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการโดยมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันและมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประโยชน์หรือกำไรจากการกระทำกิจกรรมนั้น 

การวิจัยธุรกิจ  หมายถึง กระบวนการศึกษาค้นคว้า หาความรู้ ความจริงเกี่ยวกับธุรกิจ ด้วยวิธีการและหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน มีวัตถุประสงค์ชัดเจน เก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถใช้แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ 
ความสำคัญของการวิจัยธุรกิจ
การวิจัยธุรกิจมีความสำคัญต่อกระบวนการสร้างองค์ความรู้ที่เชื่อถือได้ การพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การพัฒนาวิชาการในแต่ละสาขา การเข้าถึงและใช้สารสนเทศที่ถูกต้อง ลดอุปสรรคด้านระยะเวลาและระยะทางในการติดต่อสื่อสาร เพิ่มประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการตัดสินใจ เป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์และใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารธุรกิจ 

การค้นหาควารู้ความจริงของมนุษย์
การค้นหาความรู้ความจริงของมนุษย์มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการสอบถามผู้รู้ การใช้ประสบการณ์ส่วนตัว การใช้จารีตประเพณี การอนุมาน การอุปมาน กระทั่งการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดในการแสวงหาความรู้ความจริงของมนุษย์  ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ ดังนี้
1) ขั้นปัญหา (Problem) เป็นขั้นตอนการสังเกตเพื่อระบุปัญหา  หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา  และกำหนดขอบเขตของปัญหา
2) ขั้นตั้งสมมุติฐาน (Hypothesis) ขั้นนี้ คือ ขั้นการคิดคำตอบที่คาดหวังว่าควรจะเป็น  หรือการคาดเดาคำตอบที่จะได้รับ
3) ขั้นรวบรวมข้อมูล (Gathering data) คือ การรวบรวมข้อมูล  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ว่าถูกหรือผิด โดยมีหลักฐานยืนยันอาจทำได้โดยการสังเกตหรือการทดลอง
4) ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การค้นคว้า การทดลอง หรือการรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริง มาทำการวิเคราะห์ผล อธิบายความหมายของข้อเท็จจริง แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานข้อใด
5) ขั้นสรุป (Conclusion) คือ การสรุปว่าจะปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐาน ตามหลักเหตุและผลเพื่อให้ได้คำตอบของปัญหา

       
              แนวคิดพื้นฐานการวิจัย

           การวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อตอบปัญหาหรือข้อสงสัยโดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบเชื่อถือได้ การวิจัยธุรกิจส่วนมากเป็นการวิจัยที่ใช้แนวคิดพื้นฐานในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด คือ
              1. แนวคิดปฏิฐานนิยม (Positivism) หรือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เป็นวิธีการค้นหาความรู้และความจริงโดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการวิจัยให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา ต้องจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยในวิเคราะห์และประมวลข้อสรุปเพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด


            2แนวคิดปรากฏการณ์นิยม (Phenomenal) หรือ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เป็นการวิจัยที่แสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ (Naturalistic inquiry)ซึ่งเป็นการสอบสวน มองภาพรวมทุกมิติ (Holistic perspective)  ด้วยตัวผู้วิจัยเอง  เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจกับสภาพแวดล้อมนั้น  โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย  (Inductive  analysis)  เป็นการวิจัยที่เน้นการหารายละเอียดต่างๆ ของกลุ่มประชากรที่ทำการศึกษา ที่จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องนั้นๆ ข้อมูลหรือข้อค้นพบอาจได้มาจากการสังเกตหน่วยที่ต้องการศึกษา
การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นวิธีค้นหาความจริงจากเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมที่มีอยู่ตามความเป็นจริง โดยพยายามวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์กับสภาพแวดล้อม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ (Insight) จากภาพรวมของหลายมิติ ความหมายนี้จึงตรงกับความหมายของการวิจัยเชิงธรรมชาติ (Naturalistic research) ซึ่งปล่อยให้สภาพทุกอย่างอยู่ในธรรมชาติ ไม่มีการจัดกระทำ (Manipulate) กับสิ่งที่เกี่ยวข้องใดๆเลย


บรรณานุกรม

กิตติพันธ์  คงสวัสดิ์เกียรติ, ไกรชิต  สุตะเมือง, เฉลิมพร เย็นเยือก, และเรวดี อันนันนับ.  (2552).  ระเบียบวิธี
                วิจัยทางธุรกิจ.  กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น.
ตุลา มหาสุธานนท์.  (2548).  หลักการจัดการหลักการบริหาร.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์รุงทรัพย์การพิมพ์.
นราศรี  ไววนิชกุล และ ชูศักดิ์  อุดมศรี.  (2551).  ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ.  พิมพ์ครั้งที่ 18.  กรุงเทพฯ:
                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิศา  ชูโต.  (2545).  การวิจัยเชิงคุณภาพ.  กรุงเทพมหานคร: แม็ทปอยท์,
บุญชม ศรีสะอาด.  (2545).  การวิจัยเบื้องต้น.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พรทิพย์  อุดมสิน และ บุญศรีพรหมาพันธุ์.  (2550).  ความรู้พื้นฐานในการวิจัย.” ใน  เอกสารการสอนชุดวิชาการวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์.   หน่วยที่ 1.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  นนทบุรี: สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พวงรัตน์  ทวีรัตน์.  (2543).  วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.  พิมพ์ครั้งที่  8.  กรุงเทพฯ: สำนักนักงานทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา.  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. 
เพ็ญแข  แสงแก้ว.  (2541).  การวิจัยทางสังคมศาสตร์.  ปทุมธานี: ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มนสิช  สิทธิสมบูรณ์.  (2547).   ระเบียบวิธีวิจัย.  พิษณุโลก:  คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ยุทธพงษ์  ไกรวรรณ์.   (2545). พื้นฐานการวิจัย ฉบับปรับปรุงใหม่.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ราชบัณฑิตยสถาน.  (2546).  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2542.  กรุงเทพฯ : นานมีบุคส์.
ลัดดาวัลย์  เพชรโรจน์ และ อัจฉรา  ชำนิประศาสตร์.  (2547).  ระเบียบวิธีการวิจัย.  กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
วัชราภรณ์  สุริยาภิวัฒน์.  (2546).  วิจัยธุรกิจยุคใหม่.  กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชิต  อู่อ้น.  (2553).  การวิจัยและสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ.  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 
สธน เสนาสวัสดิ์.  (2556).  ทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์.  [ออนไลน์].  ค้นเมื่อ 7 เมษายน 2556. จาก : http://www.baanjomyut.com/library_2/scientific_thinking_skills/06.html
สมยศ นาวีการและผุสดี รุมาคม.  (2545).  การบริหารธุรกิจ.  กรุงเทพฯ : กรุงสยาม.
สิน  พันธุ์พินิจ.  (2547).  เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์.  กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สุวิมล  ติรกานันท์.  (2548).  ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ.  พิมพ์ครั้งที่ 5.  กรุงเทพฯ: จุลาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์.  (2551).  ระเบียบวิธีวิจัย.  พิษณุโลก: ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Basic Business Research.  (2011).  [Online] : Search on  November 29, 2011. Available from :                 http://managementhelp.org/businessresearch/index.php.
Cooper, D.R. and P.S. Schindler.   (2011).  Business research methods.  11th ed.  New York: McGraw-
Hill Higher Education.
Ebert, R.J. and R.W.Griffit.  (2000).  Business Essentials. New Jersey : Prentice Hall.
Greener, S.  (2008).  Business Research Method.  London: London Business School.  [Online]
                : Search on  November 29, 2011. Available from : http://bookboon.com/en/
                textbooks/marketing-        media/introduction-to-research-methods.
Headd, B., and R. Saad. (2008).  Do Business Definition Decisions Distort Small Business Research
Results.  [Online] : Search on  November 29, 2011. Available from : http://archive.sba.gov/
advo/research/rs330tot.pdf.

Loomba, N.P.  (1978).   Management, a quantitative perspective.   New York: Macmillan .

Plunkett,  W.R. and R. F. Attner. (1994).  Introduction to Management.  Belmont:  Wadsworth.

Rojas. E., and D. Media. (2012).   Definition of Business Research.  [Online].  Search on December 26,

2012.  Available from :  http://smallbusiness.chron.com/definition-business-research-42009.html.

Simon, H.A.  (1960).   The New Science of Management Decision. New York: Harper and Row.
Wimmer, Roger. D. and Joseph R. Dominick.  (1987).  Mass Media Research an Introduction.  2nd ed.
Belmont: Wadsworth Publishing.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น